096-305-0765

ฟันคุดมีทุกคนไหม

ฟันคุดมีทุกคนไหม ? เป็นคำถามยอดฮิตที่หลาย ๆ คนสงสัยกันเลยนะคะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนไข้ที่กลัวการผ่าตัด และไม่อยากผ่าฟันคุด แค่คิดภาพว่าจะต้องผ่าตัดและพักฟื้น ต้องงดกินของอร่อย ๆ ไปหลายวันก็รู้สึกเศร้าแล้วล่ะค่ะ แล้วแบบนี้จะรู้ได้ยังไงว่าใครบ้างที่มีฟันคุด วันนี้เด็นทัลพอยท์คลินิกได้รวบรวมคำตอบที่หลาย ๆ คนสงสัยเกี่ยวกับฟันคุดไว้ในบทความนี้แล้วค่ะ

 

ฟันคุดมีทุกคนไหม

ปกติแล้วคนเราจะมีฟันแท้ทั้งหมด 32 ซี่ ประกอบไปด้วย ฟันตัด 8 ซี่ ฟันเขี้ยว 4 ซี่ ฟันกรามน้อย 8 ซี่ และฟันกราม 12 ซี่ และในจำนวนของฟันกรามทั้งหมดก็รวม “ฟันคุด” เข้าไปในนั้นแล้วด้วยค่ะ โดยที่ฟันแต่ละซี่จะเรียงตัวไปตามแนวของขากรรไกร และถ้าขากรรไกรของเรามีพื้นที่ไม่เพียงพอ ฟันที่เหลือก็จะกลายเป็นฟันคุดซ่อนอยู่ใต้เหงือกนั่นเอง

 

และโดยทั่วไปแล้ว ตำแหน่งของฟันคุดจะอยู่บริเวณฟันกรามซี่สุดท้ายด้านในสุด คือตรงบริเวณขากรรไกรบนและขากรรไกรล่าง ทั้งมุมซ้ายและมุมขวา รวม ๆ แล้วคนเราจะมีฟันคุดอยู่ทั้งหมด 4 ซี่ โดยที่ฟันคุดบางซี่สามารถโผล่พ้นขึ้นมาจากเหงือกได้เอง และมีบางซี่ที่โผล่ขึ้นมาเองไม่ได้ จำเป็นจะต้องให้ทันตแพทย์ช่วยผ่าตัดออกไปค่ะ แต่สำหรับฟันที่ฝังอยู่ใต้กระดูกขากรรไกร เราจะไม่ได้เรียกว่าฟันคุดนะคะ แบบนี้เราจะเรียกว่า “ฟันฝัง” ค่ะ

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีฟันคุด

แน่นอนว่าฟันคุดคือฟันที่ซ่อนอยู่บริเวณใต้เหงือก ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่านะคะ จำเป็นจะต้องทำการเอกซ์เรย์เพื่อตรวจดูเท่านั้น โดยที่แผ่นฟิล์มเอกซเรย์จะทำให้เรามองเห็นตำแหน่งและความลึกของฟันคุดได้อย่างชัดเจน รวมไปถึงเส้นประสาท ลักษณะและรากฟันของฟันคุด ซึ่งจะทำให้ทันตแพทย์ทำการรักษาได้ง่ายขึ้นค่ะ และโดยส่วนใหญ่แล้วฟันคุดจะส่งสัญญาณเตือนอะไรบางอย่างให้เรารู้ หรืออาจโผล่ขึ้นมาจากเหงือกให้เห็นเองช่วงวัยรุ่นตอนปลาย หรืออยู่ในช่วงอายุ 17 – 25 ปีนั่นเองค่ะ

 

ฟันคุด ต้องถอนหรือผ่า

ฟันคุดไม่สามารถหายเองได้ แต่สามารถทำการรักษาได้ 2 วิธี คือ การถอนฟัน หรือการผ่าตัดเท่านั้นค่ะ โดยวิธีการที่ทันตแพทย์จะเลือกใช้แบบไหนนั้น จะต้องพิจารณาเป็นเคส ๆ ไป เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะการขึ้นของฟันคุดด้วยนั่นเอง

 

อย่างในกรณีที่เป็นฟันคุดขึ้นเต็มซี่ มักจะใช้วิธีการถอนฟันคุดออกไป เช่นเดียวกันกับการถอนฟันตามปกติทั่วไปเลยค่ะ ไม่จำเป็นต้องผ่ากระดูกหรือเปิดเหงือกออกมา ซึ่งวิธีนี้จะใช้เวลาพักฟื้นไม่นานเมื่อเทียบกับการผ่าตัด ส่วนในกรณีที่ฟันคุดขึ้นมาเองไม่ได้ หรือโผล่ไม่พ้นเหงือก หรือเป็นฟันผังที่อยู่ลึกใต้ขากระดูกขากรรไกร จำเป็นจะต้องผ่าตัดออกเท่านั้นนะคะ

 

แต่ถ้าถามเราจำเป็นจะต้องผ่าฟันคุดออกไปไหม หรือมีวิธีไหนที่ทําให้ไม่ต้องผ่าฟันคุด ก็ต้องขอบอกว่า แนะนําให้ผ่าจะดีที่สุดค่ะ เพราะถ้าเราปล่อยเอาไว้ จะก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าที่เราคิด แล้วมีโอกาสที่สูญเสียฟันซี่ข้าง ๆ ตามไปด้วยค่ะ นอกจากนี้ก็จะก่อทําให้เกิดปัญหาสุขภาพฟันต่าง ๆ ตามมา และต้องรักษาโรคที่เกิดจากฟันคุดต่อไปเรื่อย ๆ การถอนหรือการผ่าฟันคุดนับว่าเป็นทางเลือกที่เจ็บตัวน้อยที่สุดแล้วล่ะค่ะ

 

สัญญาณอันตรายที่บอกว่าต้องรีบเอาฟันคุดออกโดยด่วน

ฟันคุด ต้องถอนออกไหม

  • ปวดฟันคุดอย่างรุนแรง
  • ฟันคุดขึ้นชนฟันซี่ข้างเคียง
  • ฟันคุดโผล่ขึ้นไม่พ้นเหงือก อาหารติดฟันได้ง่าย เสี่ยงฟันผุและมีกลิ่นปาก
  • มีเหงือกบวมอักเสบ
  • เกิดถุงน้ำในกระดูกขากรรไกร

 

ควรผ่าฟันคุดออกตอนไหน

การถอนหรือผ่าฟันคุดควรเริ่มทำนับตั้งแต่วันที่ตรวจพบว่ามีฟันคุด หรือเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ค่ะ แต่ในบางรายที่ฟันคุดยังฝังตัวอยู่ลึกมาก ทันตแพทย์มักจะแนะนำให้รอไปสักระยะหนึ่งก่อน เพื่อให้ฟันคุดอยู่ในตำแหน่งที่ตื้นขึ้นและง่ายต่อการรักษา โดยส่วนใหญ่ช่วงวัยที่เหมาะสมสำหรับทำการรักษาจะอยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 18 – 25 ปี เพราะเป็นวัยที่ฟื้นตัวได้เร็ว และมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงตามมาได้น้อย เช่น อาการชาที่ริมฝีปากนั่นเองค่ะ

 

และที่สำคัญทันตแพทย์จะไม่แนะนำให้ผ่าฟันคุดขณะที่ปวด เพราะอาการปวดฟันส่วนใหญ่เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงการอักเสบ ติดเชื้อ และอาจมีหนองในบริเวณนั้นด้วย เวลาที่ทันตแพทย์ฉีดยาชาลง จะทำให้ยาชาออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่ และอาจทำให้ปวดมากขึ้นขณะทำการถอนฟันค่ะ เพราะฉะนั้นแล้วใครที่ใจร้อนอยากถอนฟันคุดตอนที่กำลังปวด ๆ เลยจะไม่สามารถทำได้นะคะ แนะนำให้ทานยาบรรเทาอาการปวดไปก่อน เมื่ออาการดีขึ้นจึงค่อยกลับมาถอนฟันคุดค่ะ

 

เคล็ดลับดูแลสุขภาพช่องปาก

 


ปรึกษาหมอหลิน :
038-416-779
038-416-817
096-305-0765
Line ID : @dppattaya.com

เด็นทัลพอยท์ คลินิกทันตกรรม พัทยา
ค้นหาด้วย Google map นำทางมาถูกแน่นอน
https://goo.gl/MDzxIT (คลิก)
Dental point คลินิก พร้อมให้คำปรึกษาทุกปัญหาเรื่องฟัน

 

Comments

comments