หัวข้อย่อย
การผ่าตัดถอนฟันคุด
ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยและวิเคราะห์โรค
- ทันตแพทย์จะทำการตรวจในช่องปากและพิจารณาถึงความจำเป็นในการถอนฟัน
- ในบางกรณีการถ่ายเอ็กซเรย์อาจมีความจำเป็นเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาซึ่งสามารถบอกสภาพฟัน รากฟันและกระดูกรองรับฟันได้
- ทันตแพทย์จะทำการจดบันทึกข้อมูลและประวัติด้านสุขภาพของผู้ป่วย ซึ่งผู้ป่วยควรให้ข้อมูลด้านสุขภาพของตนที่ถูกต้องและครบถ้วน โดยเฉพาะปัญหาที่เคยเกิดขึ้นเมื่อได้รับการถอนฟัน ปัญหาการหยุดไหลของเลือด ปัญหาสุขภาพเช่นโรคตับ และโรคเบาหวาน และการแพ้อาหารและยาประเภทต่าง ๆ เป็นต้น
การเตรียมบริเวณที่จะทำการผ่าตัด
ทันตแพทย์จะทำการฉีดยาชาบริเวณที่จะทำการผ่าตัด
ขั้นตอนการผ่าตัด
- การผ่าตัดเปิดเหงือก
- การถอนฟันคุดออก
- การเย็บปิดปากแผล
ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลรักษาหลังการถอนฟัน
- หลังการผ่าตัดถอนฟันคุด ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ทันที เลือดจะหยุดไหลภายในเวลาสั้นๆ และแผลจะสามารถสมานตัวได้เอง แต่การดูแลรักษาความสะอาดยังคงมีความสำคัญเพื่อหลีกเลี่ยงการอักเสบติดเชื้อ บริเวณแผลได้ และควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องออกแรงมาก ๆ หรือการอยู่กลางแจ้ง อาการที่เกิดขึ้นได้และถือว่าปกติคือ
- อาการบวมของใบหน้าข้างที่ทำการผ่าตัดเหมือนการผ่าตัดทั่วไปที่อาจมีการบวมอยู่ ประมาณ 2-3 วัน
- อาการปวดแผลผ่าตัด ซึ่งต้องทานยาแก้ปวดเช่นเดียวกับการถอนฟันตามปกติ
- บริเวณแก้มอาจมีสีเหลือง เขียว ซึ่งจะหายไปในที่สุด
- บริหารขากรรไกรโดยให้อ้าปากให้กว้างๆสม่ำเสมอหลังผ่าฟันคุด
ข้อควรปฏิบัติหลังการผ่าตัดฟันคุด มีดังนี้
1) ประคบด้วยถุงเย็นประมาณ 30 นาทีทันทีหลังการผ่าตัด
2) ควรกัดผ้าก๊อซแน่นๆประมาณ 30 นาที เพื่อห้ามเลือด และควรเปลี่ยนผ้าชิ้นใหม่หลังจากนั้นจนกว่าเลือดจะหยุดไหล
3) ไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากภายใน 6 ชั่วโมงหลังการถอนฟัน
4) ในกรณีที่มีเลือดออกเล็กน้อย ควรทำการอมน้ำเกลือเย็นๆไว้สักครู่
5) ไม่ควรบ้วนน้ำภายใน 12 ชั่วโมงหลังการถอน
6) สามารถบ้วนปากได้ด้วยน้ำเกลือ ( เกลือ 1 ช้อนชา + น้ำอุ่น 1 แก้ว) 12 ชั่วโมงหลังการถอนฟัน
7) สามารถแปรงฟันได้ตามปกติแต่ควรให้ความระมัดระวังบริเวณแผล
8) ควรรับประทานอาหารอ่อนๆ เย็นๆ และรสไม่จัดในช่วง 2 – 3 วันแรก
9) หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
10) อาการปวดหลังการถอนสามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยาแก้ปวดที่สั่งโดยทันตแพทย์
อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นคือ
- อาการติดเชื้อหลังผ่าตัด จะพบว่าบางครั้งหมอฟันจะให้ยาแก้อักเสบหลังผ่าตัดเสร็จแล้วด้วย
- แพ้ยา แก้ปวด,แก้อักเสบ หรือลดบวม ต้องรีบพบทันตแพทย์เพื่อเปลี่ยนยาทันที
- เลือดออกมาก ซึ่งคงต้องดูเป็นกรณีไปเช่น มีการติดเชื้อมากก่อนทำ หรือฟันคุดอยู่ใกล้เส้นเลือด หรือแผลอาจฉีกขาดเป็นต้น
- อาการชาริมฝีปาก หลังผ่าตัด เพราะฟันคุดอยู่ใกล้หรือเกี่ยวอยู่กับเส้นประสาทที่มาเลี้ยงฟัน
ผลเสียของการเก็บฟันคุดไว้คือ
- อาจเกิดการติดเชื้อแบบฉับพลัน หรือติดเชื้อแบบเรื้อรัง เป็นๆหาย
- ฟันคุดถ้าฝังอยู่ในขากรรไกรมักมีถุงหุ้มฟันอยู่ ซึ่งอาจพัฒนาไปเป็นถุงน้ำได้
- ปวดฟัน
- ฟันซี่ที่ติดกับฟันคุดจะผุและอาจเสียหายไปด้วย เพราะฟันคุดเอียงมาชนทำให้ยากต่อการทำความสะอาด
- เป็นจุดอ่อนของขากรรไกรกรณีได้รับอุบัติเหตุ
เกร็ดความรู้เรื่องการจัดฟัน
เทคนิคเลือกสียางจัดฟัน เลือกยังไงให้เข้ากับ personal colors
เทคนิคเลือกสียางจัดฟัน หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องการเลือกสีเครื่องเเต่งกาย เครื่องประดับ...
แย่แล้ว! แบร็คเก็ตหลุด ทำยังไงดี ?
แบร็คเก็ตหลุด เหล็กหลุด ยางจัดฟันหลุด กลืนอุปกรณ์จัดฟัน...
จัดฟันยุคโควิด COVID-19 ต้อง จัดฟันใสดิจิตอล
จัดฟันยุคโควิด ในช่วงที่เชื้อไวรัสโคโรนา COVID-19 กำลังระบาดหนักแบบนี้ หากจะเป็น...
Ef Line จัดฟันเด็กเล็ก ที่ให้มากกว่าแค่เรื่องจัดฟัน
EF LINE อุปกรณ์ที่มีหน้าตาคล้ายกับ “ฟันยาง” ซึ่งอย่างที่เราพอจะทราบกันอยู่แล้วนะคะว่า...
คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับ การจัดฟัน
การจัดฟัน เป็นการรักษาทางทันตกรรมอย่างหนึ่งที่คนไทยนิยมมากที่สุดในการทำฟันเลยค่ะ...
ราคาค่าจัดฟัน
ราคาค่าจัดฟัน แพงไหม? จัดฟันครั้งแรกราคาเท่าไหร่?...
ปรึกษาหมอหลิน :
038-416-779
038-416-817
096-305-0765
Line ID : @dppattaya.com
เด็นทัลพอยท์ คลินิกทันตกรรม พัทยา
ค้นหาด้วย Google map นำทางมาถูกแน่นอน
https://goo.gl/MDzxIT (คลิก)
Dental point คลินิก พร้อมให้คำปรึกษาทุกปัญหาเรื่องฟัน