096-305-0765

คนที่อยากจัดฟัน ต้องรู้ข้อดี-ข้อเสีย

คนที่อยากจัดฟัน เพราะความน่ารักของสียางจัดฟัน ต้องฟังทางนี้ก่อนค่ะ! เพราะถ้าเรามองเผิน ๆ แล้ว การจัดฟันก็นับว่าเป็นการรักษาฟันรูปแบบหนึ่งที่ช่วยให้ฟันเรียงตัวสวยงามน่ามองนะคะ บางคนฟันไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่ก็ขอจัดฟันสักหน่อย แต่รู้หรือไม่ว่าขั้นตอนการจัดฟัน ตั้งแต่ก่อนติดเครื่องมือ ถอดเหล็ก ไปจนถึงวิธีการดูแลฟันหลังถอดเครื่องมือไปแล้ว มีขั้นตอนมากกว่านั้นเสียอีก!

วันนี้เด็นทัลพอยท์จะมาบอก ข้อดี-ข้อเสียของการจัดฟัน ให้ทุกคนได้สำรวจตัวเองก่อนตัดสินใจจัดฟันกันค่ะ

การจัดฟันคืออะไร ?

ว่ากันตามคำนิยามแล้ว การจัดฟัน (Orthodontics) คือ สาขาหนึ่งในทางทันตกรรมที่ให้การวินิจฉัย ป้องกัน และรักษาความผิดปกติของการเรียงตัวฟัน ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับโครงสร้างใบหน้าและขากรรไกร เมื่อจัดฟันเสร็จแล้ว จะทำให้สบฟันได้ดีขึ้น บดเคี้ยวอาหาร และทำความสะอาดฟันได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเองค่ะ

แน่นอนว่าคนที่มีปัญหาเรื่องการเรียงตัวของฟันที่ไม่เป็นระเบียบ ดูแล้วไม่ค่อยสวยงามเท่าไหร่นัก ก็มักจะเลือกจัดฟัน เพื่อเพิ่มความมั่นใจในรอยยิ้มให้กับตัวเอง

แล้วแบบนี้ ฟันแบบไหนควรจัดฟัน ?

วิธีสังเกตก็ง่ายมาก ๆ เลยค่ะ ลองทำตามกันดูที่บ้านได้เลย! ให้ทุกคนลองกัดฟันเบา ๆ ให้ฟันล่างและฟันบนสัมผัสกันตามปกติดูค่ะ ถ้าสังเกตเห็นว่าฟันสบกันไม่พอดี ฟันซี่ได้ซี่หนึ่งไม่ได้เรียงกันเป็นเส้นโค้งสวยงามพอดี ก็อาจเป็นไปได้ว่ามีลักษณะฟันที่ไม่ปกติ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น จะต้องให้ทันตแพทย์ช่วยตรวจวินิจฉัยอีกรอบด้วยนะคะ

สบฟันผิดปกติ มีอะไรบ้าง? ยกตัวอย่างเช่น ฟันยื่น ฟันเหยิน ฟันหน้าสบอ้า ฟันสบเปิดด้านข้าง ฟันล่างคร่อมฟัน ฟันบนบดบังฟันล่างบน ฟันบนกับฟันล่างไม่ตรงกัน ฟันกัดคร่อม ฟันซ้อนเก และฟันห่าง ลักษณะฟันที่พูดถึงอยู่นี้ ไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อการบดเคี้ยวอาหารเท่านั้น แต่ยังกระทบไปถึงบุคลิกภาพ รูปหน้าที่ไม่สมดุล รวมไปถึงระบบย่อยอาหารที่อาจทําให้เกิดโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารตามมาได้ค่ะ

เอาล่ะค่ะ พออ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนก็คงพอจะเช็คได้คร่าว ๆ แล้วว่าตัวเองควรจัดฟันหรือไม่กันแน่ คราวนี้ลองมาดูขั้นตอนการจัดฟันกันบ้างดีกว่าค่ะ

ขั้นตอนการจัดฟัน

  1. ปรึกษากับทันตแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำ ข้อควรปฏิบัติ วิธีดูแลตัวเอง และประเมินค่าใช้จ่ายในการจัดฟันเบื้องต้น
  2. เมื่อพร้อมที่จะจัดฟันแล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอนวางแผนจัดฟันด้วยการเอกซเรย์และพิมพ์ปาก เพื่อทำแบบจำลองการสบฟัน ดูโครงสร้างฟัน กระดูกขากรรไกร ฟันคุด และรากฟันอย่างละเอียด
  3. เคลียร์ช่องปาก เช่น การขูดหินปูน การอุดฟัน และการถอนฟัน
  4. ติดเครื่องมือจัดฟันและนัดหมายมาพบเดือนละครั้งตามแผนการรักษา 
  5. เมื่อได้ผลลัพธ์ที่พึงพอใจ จะเข้าสู่ขั้นตอนการถอดเครื่องมือและทำรีเทนเนอร์ เพื่อคงสภาพฟันหลังจัดฟันเสร็จ

แต่ละขั้นตอนของการจัดฟัน อาจจะดูไม่ได้ซับซ้อนอะไรมาก แต่ก็ต้องแลกมาด้วยความรับผิดชอบและความมีวินัยของเราเยอะมาก ๆ เลยล่ะค่ะ เพราะถ้าจัดฟันเสร็จช้า ใส่เหล็กนานเกินไป หรือเจอปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อแผนการรักษา อาจจะได้ข้อเสียมากกว่าข้อดีได้ด้วยนะคะ

คนที่อยากจัดฟัน ต้องรู้! ข้อดีข้อเสียของการจัดฟัน

ข้อดีของการจัดฟัน

  • เป็นการจัดการปัญหารอยยิ้มและการสบฟันให้เป็นปกติ
  • ช่วยเสริมบุคลิกและความมั่นใจให้กับตัวเอง
  • เพิ่มวินัยในการดูแลรักษาความสะอาดฟัน
  • ลดโอกาสเกิดโรคที่เกี่ยวกับฟันบางชนิดได้ในอนาคต

ข้อเสียของการจัดฟัน

  • มีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น
  • มีอาการปวดหรือเจ็บ กรณีที่ต้องปรับเครื่องมือ
  • รับประทานอาหารและทำความสะอาดลำบากขึ้น
  • มีโอกาสที่รากฟันจะละลายจากกระบวนการเคลื่อนฟัน
  • ต้องใส่รีเทนเนอร์คงสภาพฟันหลังถอดเหล็กไปแล้วตามคำแนะนำของทันตแพทย์

ผลข้างเคียงที่อาจพบได้ระหว่างจัดฟัน

คนที่อยากจัดฟัน ความเสี่ยงของการจัดฟัน

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนตำแหน่งฟันกันก่อนนะคะ อย่างที่เรารู้กันดีว่าเวลาจัดฟัน ทันตแพทย์จะติดแบรคเก็ตลงบนผิวเคลือบฟัน และเคลื่อนฟันด้วยลวดให้อยู่ในระนาบเดียวกัน ซึ่งจะทำให้เกิดกระบวนการสร้างและสลายกระดูกรอบ ๆ ฟันและเอ็นยึดฟันตามมา และนี่ก็เป็นกลไกตามธรรมชาติที่จะทำให้ฟันของเราเปลี่ยนตำแหน่งได้นั่นเอง

แล้วมันเกี่ยวข้องกับรากฟันละลาย ยังไงล่ะ?

แบบนี้ค่ะ กระบวนการสร้างและสลายกระดูกรอบ ๆ จะเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย ประมาณ 1-2 มิลลิเมตรเท่านั้น ไม่ได้ส่งผลต่อความแข็งแรงของฟัน และสังเกตได้จากลักษณะปลายรากฟันที่ทู่ลงเพียงเล็กน้อยบนฟิล์มเอกซเรย์ แต่ไม่ต้องตกใจไปนะคะ เพราะว่าปัญหารากฟันละลาย รากฟันสั้นลงจากการจัดฟัน เกิดขึ้นได้กับคนไข้บางคนเท่านั้น

ในบางรายที่มีอาการรุนแรงมาก ๆ จนทำให้ฟันโยก จะพบได้น้อยมาก ๆ และมักจะพบในผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุมาก่อน หรือเป็นผลข้างเคียงมาจากฟันคุด จัดฟันมานาน หรือมีความผิดปกติทางฮอร์โมน เช่น ไทรอยด์ฮอร์โมน จำเป็นจะต้องแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบก่อน เพื่อเอกซเรย์ทุก 3-6 เดือน คอยสังเกตว่าจะเกิดภาวะรากฟันละลายมากกว่าปกติหรือไม่นั่นเองค่ะ

เคล็ดลับดูแลสุขภาพช่องปาก


ปรึกษาหมอหลิน :
038-416-779
038-416-817
096-305-0765
Line ID : @dppattaya.com

เด็นทัลพอยท์ คลินิกทันตกรรม พัทยา
ค้นหาด้วย Google map นำทางมาถูกแน่นอน
https://goo.gl/MDzxIT (คลิก)
Dental point คลินิก พร้อมให้คำปรึกษาทุกปัญหาเรื่องฟัน


Comments

comments