096-305-0765

ผ่าฟันคุด

เด็นทัลพอยท์คลินิก

การผ่าตัดถอนฟันคุด

ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยและวิเคราะห์โรค

  • ทันตแพทย์จะทำการตรวจในช่องปากและพิจารณาถึงความจำเป็นในการถอนฟัน
  • ในบางกรณีการถ่ายเอกซเรย์อาจมีความจำเป็นเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา ซึ่งสามารถบอกสภาพฟัน รากฟันและกระดูกรองรับฟันได้
  • ทันตแพทย์จะทำการจดบันทึกข้อมูลและประวัติด้านสุขภาพของคนไข้ ซึ่งคนไข้ควรให้ข้อมูลด้านสุขภาพที่ถูกต้องและครบถ้วน โดยเฉพาะปัญหาที่เคยเกิดขึ้นเมื่อได้รับการถอนฟัน เช่น ปัญหาการหยุดไหลของเลือด และปัญหาด้านสุขภาพ เช่น โรคตับ โรคเบาหวาน การแพ้อาหารและยาประเภทต่าง ๆ เป็นต้น

การเตรียมบริเวณที่จะทำการผ่าตัด

ทันตแพทย์จะทำการฉีดยาชาบริเวณที่จะทำการผ่าตัด

ขั้นตอนการผ่าตัด

  • การผ่าตัดเปิดเหงือก
  • การถอนฟันคุดออก
  • การเย็บปิดปากแผล

ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลรักษาหลังการถอนฟัน

หลังการผ่าตัดถอนฟันคุด ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ทันที เลือดจะหยุดไหลภายในเวลาสั้น ๆ และแผลจะสามารถสมานตัวได้เอง แต่การดูแลรักษาความสะอาดยังคงมีความสำคัญเพื่อหลีกเลี่ยงการอักเสบติดเชื้อบริเวณแผลได้ และควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องออกแรงมาก ๆ หรือการอยู่กลางแจ้ง

อาการที่เกิดขึ้นได้และถือว่าปกติ คือ

  • อาการบวมของใบหน้าข้างที่ทำการผ่าตัดเหมือนการผ่าตัดทั่วไปที่อาจมีการบวมอยู่ ประมาณ 2-3 วัน
  • อาการปวดแผลผ่าตัด ซึ่งต้องทานยาแก้ปวดเช่นเดียวกับการถอนฟันตามปกติ
  • บริเวณแก้มอาจมีสีเหลือง เขียว ซึ่งจะหายไปในที่สุด
  • บริหารขากรรไกร โดยให้อ้าปากให้กว้าง ๆ สม่ำเสมอหลังผ่าฟันคุด

ข้อควรปฏิบัติหลังการผ่าตัดฟันคุดมีดังนี้

  1. ระคบด้วยถุงเย็นประมาณ 30 นาทีทันทีหลังการผ่าตัด
  2. ควรกัดผ้าก๊อซแน่น ๆ ประมาณ 30 นาที เพื่อห้ามเลือด และควรเปลี่ยนผ้าชิ้นใหม่จนกว่าเลือดจะหยุดไหล
  3. ไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากภายใน 6 ชั่วโมงหลังการถอนฟัน
  4. ในกรณีที่มีเลือดออกเล็กน้อย ควรทำการอมน้ำเกลือเย็นๆไว้สักครู่
  5. ไม่ควรบ้วนน้ำภายใน 12 ชั่วโมงหลังการถอน
  6. สามารถบ้วนปากได้ด้วยน้ำเกลือ (เกลือ 1 ช้อนชา + น้ำอุ่น 1 แก้ว) 12 ชั่วโมงหลังการถอนฟัน
  7. สามารถแปรงฟันได้ตามปกติแต่ควรให้ความระมัดระวังบริเวณแผล
  8. ควรรับประทานอาหารอ่อน ๆ เย็น ๆ และรสไม่จัดในช่วง 2 – 3 วันแรก
  9. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  10. อาการปวดหลังการถอนสามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยาแก้ปวดที่สั่งโดยทันตแพทย์

อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นคือ

  • อาการติดเชื้อหลังผ่าตัด จะพบว่าบางครั้งหมอฟันจะให้ยาแก้อักเสบหลังผ่าตัดเสร็จแล้วด้วย
  • แพ้ยา แก้ปวด แก้อักเสบ หรือลดบวม ต้องรีบพบทันตแพทย์เพื่อเปลี่ยนยาทันที
  • เลือดออกมาก ซึ่งคงต้องดูเป็นกรณีไป เช่น มีการติดเชื้อมากก่อนทำ หรือฟันคุดอยู่ใกล้เส้นเลือด หรือแผลอาจฉีกขาด เป็นต้น
  • อาการชาริมฝีปาก หลังผ่าตัด เพราะฟันคุดอยู่ใกล้หรือเกี่ยวอยู่กับเส้นประสาทที่มาเลี้ยงฟัน

ผลเสียของการเก็บฟันคุดไว้คือ

  • อาจเกิดการติดเชื้อแบบฉับพลัน หรือติดเชื้อแบบเรื้อรัง เป็น ๆ หาย
  • ฟันคุดถ้าฝังอยู่ในขากรรไกรมักมีถุงหุ้มฟันอยู่ ซึ่งอาจพัฒนาไปเป็นถุงน้ำได้
  • ปวดฟัน
  • ฟันซี่ที่ติดกับฟันคุดจะผุและอาจเสียหายไปด้วย เพราะฟันคุดเอียงมาชนทำให้ยากต่อการทำความสะอาด
  • เป็นจุดอ่อนของขากรรไกรกรณีได้รับอุบัติเหตุ

เกร็ดความรู้ดูแลสุขภาพช่องปาก

Pediatric Dentist คืออะไร?

Pediatric Dentist คืออะไร?

หมอฟันเด็ก ? ที่มีชื่อเรียกว่า Pediatric Dentist นับว่าเป็นหมอฟันประเภทหนึ่งค่ะ...


ปรึกษาหมอหลิน :
038-416-779
038-416-817
096-305-0765
Line ID : @dppattaya.com

เด็นทัลพอยท์ คลินิกทันตกรรม พัทยา
ค้นหาด้วย Google map นำทางมาถูกแน่นอน
https://goo.gl/MDzxIT (คลิก)
Dental point คลินิก พร้อมให้คำปรึกษาทุกปัญหาเรื่องฟัน


ติดตามเรา

บริการของเรา

– ทันตกรรมจัดฟันแบบเหล็ก แบบใส

– ทันตกรรมเพื่อการรักษา

– ทันตกรรมเพื่อความสวยงาม

– การฝังรากเทียม

บทความทันตกรรม

– รีเทนเนอร์คืออะไร

– คำแนะนำสำหรับการจัดฟัน

– ฟันขาวถอดได้ แปะฟันขาว

– ข้อดีของการจัดฟันแบบดามอน

ติดต่อเรา