ขูดหินปูน
เด็นทัลพอยท์คลินิก
หินปูนคืออะไร
หินปูน หรือ หินน้ำลาย คือ แผ่นคราบจุลินทรีย์ที่แข็งตัว เนื่องจากมีธาตุแคลเซียมจากน้ำลายเข้าไปตกตะกอน
แผ่นคราบจุลินทรีย์ คือ คราบสีขาวขุ่นนิ่มที่ประกอบด้วยเชื้อโรคที่ติดอยู่บนตัวฟัน แม้ว่าจะบ้วนน้ำก็ไม่สามารถหลุดออกได้
ทำไมต้องขูดหินปูน
กระบวนการเกิดคราบจุลินทรีย์ เริ่มต้นหลังจากที่แปรงฟันแล้วเพียง 2-3 นาที โดยจะมีเมือกใสของน้ำลายมาเกาะที่ตัวฟัน จากนั้นเชื้อโรคที่มีอยู่มากในช่องปากจะมาเกาะทับถมรวมกัน เมื่อมีจำนวนมาก ๆ เข้า จึงเกิดเป็นคราบจุลินทรีย์นั่นเอง
คราบจุลินทรีย์ ที่พูดถึงอยู่นี้จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคฟันผุและโรคปริทันต์ตามมา เพราะเมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไป คราบจุลินทรีย์ก็จะใช้น้ำตาลจากอาหารสร้างกรดและสารพิษ โดยกรดจะไปทำลายเคลือบฟัน ทำให้ฟันผุ ในขณะเดียวกันสารพิษก็จะทำให้เหงือกอักเสบและเกิดโรคปริทันต์ตามมา เพราะอย่างนั้นถ้าไม่กำจัดคราบจุลินทรีย์โดยการทำความสะอาดฟัน และเหงือกอย่างดีทุกวัน คราบนี้จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และทำอันตรายต่อฟันและเหงือกของเราได้อย่างง่ายดาย
โดยทั่วไปเรามักจะพบคราบจุลินทรีย์เกาะรวมตัวกันมาก ๆ บริเวณคอฟัน ขอบเหงือกและซอกฟัน ทั้งนี้เราสามารถใช้สีย้อมฟันเพื่อให้เห็นคราบจุลินทรีย์ได้อย่างชัดเจน และในบางรายที่มีคราบจุลินทรีย์ที่หนามาก ๆ ก็จะสามารถมองเห็น หรือรู้สึกได้เมื่อใช้ลิ้นสัมผัสไปตามฟัน
ความสำคัญและความจำเป็นในการขูดหินปูน
บนพื้นผิวหินน้ำลาย จะมีคราบจุลินทรีย์ปกคลุม หินน้ำลายที่โผล่พ้นขอบเหงือกจะมองเห็นได้ แต่ส่วนที่อยู่ใต้เหงือกจะมองไม่เห็น หินปูนหรือคราบจุลินทรีย์ที่ยึดติดอยู่บนหินปูนใต้เหงือก ไม่สามารถกำจัดออกได้โดยวิธีการทำความสะอาดฟันด้วยตัวเอง ต้องอาศัยทันตแพทย์ช่วยกำจัดหินปูนให้ โดยทันตแพทย์จะทำการขูดหินปูนออกทั้งบริเวณเหนือเหงือกและใต้เหงือก จากนั้นทำรากฟันให้เรียบ (root planning) โดยปราศจากสารพิษใด ๆ เพื่อให้เหงือกยึดแน่น รอบตัวฟันเหมือนเดิม
การขูดหินปูนให้หมดจริง ๆ อาจต้องใช้เวลาพอสมควร ในบางครั้งอาจใช้เวลานานถึง 30-45 นาทีต่อครั้ง หรือนัดมาพบคุณหมอ 2-4 ครั้ง หรือมากกว่านั้นขึ้นกับความมากน้อยของหินปูน ความลึกของร่องลึกปริทันต์ และความแข็งของหินปูน เป็นต้น
หลังจากนั้นประมาณ 4-6 อาทิตย์ ทันตแพทย์จะประเมินผลดูว่าคนไข้หายจากโรคปริทันต์หรือไม่ โดยดูลักษณะเหงือกว่ากลับสู่สภาพเดิมหรือยัง มีเลือดออกเวลาแปรงฟันหรือไม่ และเมื่อใช้เครื่องมือวัดร่องลึกปริทันต์ว่าตื้นขึ้น หรือเข้าสู่ภาวะปกติหรือยัง ถ้ายังมีความลึกของร่องลึกปริทันต์อยู่ ทันตแพทย์จะพิจารณาว่าควรจะทำการผ่าตัดหรือไม่ ทั้งนี้ขึ้นกับการร่วมมือของคนไข้ในการทำความสะอาดด้วย แม้ว่าเหงือกจะกลับคืนสู่สภาวะปกติแล้ว แต่ถ้าคนไข้ละเลยไม่ทำความสะอาดอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ ก็สามารถที่จะกลับมาเป็นโรคปริทันต์ได้อีก
ควรเริ่มขูดหินปูนตั้งแต่วัยใด
สามารถขูดหินปูนได้ทุกวัย แม้กระทั่งในวัยเด็กที่มีฟันน้ำนมขึ้นแล้วไปจนกระทั่งผู้สูงอายุ ในระยะแรก ๆ หลังการขูดหินปูน ควรกลับมาให้ทันตแพทย์ตรวจและทำความสะอาด ภายใน 2-3 เดือน จากนั้นถ้าคนไข้สามารถทำความสะอาดได้ดี ไม่มีเหงือกอักเสบ หรือไม่มีร่องลึกปริทันต์ ทันตแพทย์จะนัดมาตรวจและขูดหินปูนภายใน 5-6 เดือน โดยทุกครั้งจะดูความร่วมมือของคนไข้ และอาจทบทวนวิธีการทำความสะอาดฟันและเหงือกด้วย
การขูดหินปูนบ่อย ๆ จะมีผลกระทบต่อฟันหรือไม่
ในบางครั้งจะทำให้เกิดอาการเสียวฟันได้บ้างภายหลังการขูดหินปูน และอาจมีการเจ็บเหงือกบ้างบางครั้ง แต่การดูแลรักษาความสะอาดที่ถูกต้อง จะทำให้อาการดังกล่าวหายไป
ถ้าไม่ขูดหินปูนจะเกิดผลเสียอย่างไร
ถ้าไม่ขูดหินปูนจะทำให้เกิดโรคปริทันต์ตามมาได้ โดยคราบหินปูนนี้จะส่งผลให้ท่านมีอาการดังนี้
- เลือดออกขณะแปรงฟัน
- เหงือกบวมแดง
- มีกลิ่นปาก
- เหงือกร่น มีหนองออกจากร่องเหงือก
- ฟันโยก
- ฟันเคลื่อนออกจากกัน
- ผู้ป่วยที่มีเลือดหยุดยาก ควรจะมีการปรึกษาแพทย์ เพื่อแพทย์จะได้ปรึกษาและวางแผนการรักษาร่วมกับทันตแพทย์ โดยอาจจะต้องหยุดยาที่ทำให้เลือดแข็งตัวช้า หรือในกรณีที่มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด อาจต้องให้เลือดหรือสารทดแทนก่อนขูดหินปูน เพื่อป้องกันปัญหาแทรกซ้อน หรือเลือดไหลไม่หยุด
การป้องกันในการเกิดคราบหินปูน
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการป้องกันไม่ให้เกิดคราบหินปูน ก็คือ การทำความสะอาดฟัน ซึ่งจะประกอบไปด้วย การแปรงฟันให้ถูกวิธี การทำความสะอาดซอกฟัน รวมทั้งการนวดเหงือก เช่น การใช้เส้นใยขัดฟัน (flossing) ปุ่มนวดเหงือก (rubber tip) แปรงระหว่างซอกฟัน (proximal brush) ผ้ากอซ (gauze strip) ไม้กระตุ้นเหงือก การที่จะเลือกใช้อุปกรณ์ตัวใด ขึ้นอยู่กับการพิจารณาและคำแนะนำของทันตแพทย์
ท่านสามารถป้องกันโรคฟันผุ และโรคปริทันต์ได้โดยการกำจัดคราบจุลินทรีย์ในช่องปาก
1. แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง ตอนเช้าและก่อนนอน การแปรงฟันหลังอาหารทุกมื้อเป็นสิ่งที่ดีมาก แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ให้บ้วนน้ำแรง ๆ 2-3 ครั้ง หลังอาหาร
2. ทำความสะอาดซอกฟัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
3. หลีกเลี่ยงอาหารหวาน ๆ โดยเฉพาะในระหว่างมื้อ
4. พบทันตแทพย์อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อตรวจสภาพเหงือกและฟัน เพื่อทำความสะอาดฟันบริเวณที่เหลือจากการทำความสะอาด และรับการรักษาระยะเริ่มแรก ก่อนที่ท่านจะต้องสูญเสียฟันของท่าน เนื่องจากโรคฟันผุและปริทันต์
เคล็ดลับดูแลสุขภาพช่องปาก
ฟันเหลือแต่ตอ ควรเก็บหรือควรถอน หาคำตอบได้ที่นี่
ฟันเหลือแต่ตอ หรือลักษณะฟันที่แตกจนเหลือแต่ตอ นอกจากจะใช้งานไม่ได้แล้ว...
ฟันคุดมีทุกคนไหม ไขคำตอบของฟันคุดกับสิ่งที่ทุกคนอยากรู้
ฟันคุดมีทุกคนไหม ? เป็นคำถามยอดฮิตที่หลาย ๆ คนสงสัยกันเลยนะคะ...
แชร์ประสบการณ์! เคสฟันหักขณะจัดฟัน จากอุบัติเหตุรถชน
อุบัติเหตุฟันหักขณะจัดฟัน อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ตลอดเวลานะคะ โดยเฉพาะตอนที่เราไม่ทันได้ระวังตัว...
Diode Laser เทคโนโลยีทันตกรรมเลเซอร์ ที่ทุกคนควรรู้จัก
Diode Laser เลเซอร์ไดโอด นอกจากจะนิยมใช้ในคลินิกเสริมความงามแล้ว ยังถูกมาใช้ในการรักษาฟัน...
ขจัดคราบเหลือง จากชากาแฟ ฟันสะอาด ไม่เจ็บ ด้วย Airflow
คราบเหลืองบนผิวฟัน เกิดขึ้นได้จากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของเราเองนะคะ...
ดื่มชาทุกวัน ดีต่อสุขภาพฟัน ลดกลิ่นปากได้ !
ดื่มชาทุกวัน ดีต่อสุขภาพฟัน ลดกลิ่นปากได้ ใช่แล้วค่ะ อ่านไม่ผิด เพราะจริง ๆ...
ฟลูออไรด์ ยิ่งเยอะยิ่งดีจริงไหม ที่นี่มีคำตอบ!
ฟลูออไรด์ (Fluorine) หากเป็นคำนิยามทั่ว ๆ ไป หมายถึง เกลือของธาตุฟลูออรีน...
อุดฟันหน้า สีเหมือนฟัน แก้ไขสารพัดปัญหาฟัน
อุดฟันหน้า สีเหมือนฟัน นับเป็นวิธีทางทันตกรรมเพื่อความสวยงามรูปแบบหนึ่ง...
ขำจนกรามค้าง ไม่ใช่เรื่องตลก
ขําจนกรามค้าง อึ้งจนอ้าปากค้าง หลายคนคงจะเคยได้ยินคําพูดติดปาก 2 คำนี้ผ่านหูมาบ้างแล้วนะคะ...
ปรึกษาหมอหลิน :
038-416-779
038-416-817
096-305-0765
Line ID : @dppattaya.com
เด็นทัลพอยท์ คลินิกทันตกรรม พัทยา
ค้นหาด้วย Google map นำทางมาถูกแน่นอน
https://goo.gl/MDzxIT (คลิก)
Dental point คลินิก พร้อมให้คำปรึกษาทุกปัญหาเรื่องฟัน