ฟลูออไรด์ (Fluorine) หากเป็นคำนิยามทั่ว ๆ ไป หมายถึง เกลือของธาตุฟลูออรีน หรือแร่ธาตุตามธรรมชาติที่สามารถพบได้ทั่วไปในอาหารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น อาหารทะเล เนื้อสัตว์ ปลา ไข่ ชา และผักผลไม้บางชนิด เช่น กะหล่ำปลี แครอท และมะละกอ เป็นต้น นอกจากนี้ เรายังสามารถพบแร่ธาตุฟลูออไรด์ได้ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ในน้ำประปาบางพื้นที่ รวมไปถึงดินและหินแร่อีกด้วยค่ะ
หัวข้อย่อย
ฟลูออไรด์ กับ ฟัน
อย่างที่เราทราบกันดีว่า ฟลูออไรด์ คือ สารที่มีบทบาทสำคัญในการยับยั้งการสูญเสียแร่ธาตุ และส่งเสริมการคืนแร่ธาตุเข้าสู่ฟันของเรานั่นเอง นั่นก็หมายความว่าเวลาที่เราใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ ไม่ว่าจะเป็น ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก หรือเจล ก็ล้วนแต่มีคุณสมบัติในการยับยั้งการลุกลามของรอยฟันผุระยะแรก ๆ ได้ และก็ยังสามารถเพิ่มความแข็งแรงของผิวเคลือบฟันได้อีกด้วย
ปริมาณฟลูออไรด์ที่เหมาะสม คือเท่าไหร่ ?
ยังมีความเชื่อผิด ๆ ที่ว่า การใช้ฟลูออไรด์นั้น หากเราใช้ในปริมาณมากเท่าไหร่ จะยิ่งช่วยเรื่องฟันผุมากตามไปด้วย หากใครยังมีความเชื่อแบบนี้อยู่ เราต้องมาทำความเข้าใจกันใหม่แล้วล่ะค่ะ เพราะหากเราใช้ฟลูออไรด์ในปริมาณที่สูงมาก ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ จะส่งผลเสียได้มากกว่าที่เราคิด
การแปรงฟันด้วยยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ ในปริมาณ 1,000 ppm. (1,000 ส่วนในล้านส่วน) อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำสม่ำเสมอ นับเป็นการป้องกันฟันผุพื้นฐานที่แนะนำสำหรับคนในทุกช่วงวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ซึ่งเป็นวิธีการที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้เพื่อป้องกันฟันผุสำหรับทุกเพศทุกวัย แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีข้อจำกัดบางอย่างสำหรับเด็กเล็กที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องระมัดระวังเรื่องปริมาณการใช้ยาสีฟัน เพื่อป้องกันไม่ให้ใช้จนเกินจากปริมาณฟลูออไรด์ที่เด็กควรจะได้รับในแต่ละวัน ซึ่งเด็นทัลพอยท์จะมาแนะนำวิธีการจดจำง่าย ๆ สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่กันค่ะ
ฟันซี่แรก – 2 ขวบ ให้ใช้แปรงสีฟันขนนุ่มร่วมกับยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ขนาดเท่า เมล็ดข้าวสาร
เด็กในวัย 3 – 6 ขวบ ให้ใช้แปรงสีฟันขนนุ่มร่วมกับยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ขนาดเท่า เมล็ดข้าวโพด
สำหรับวัยตั้งแต่ 7 ขวบขึ้นไป ให้ใช้แปรงสีฟันขนนุ่มร่วมกับยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ขนาดเท่า แปรงสีฟัน
จริง ๆ แล้ว เหตุผลที่เด็นทัลพอยท์จำเป็นจะต้องเน้นย้ำถึงการให้ความสำคัญกับการใช้ปริมาณฟลูออไรด์สำหรับเด็ก ๆ นั้นก็เป็นเพราะว่า เด็กที่อยู่ในช่วงของการสร้างเคลือบฟัน หรือตั้งแต่ 12-24 เดือน มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิด ฟันตกกระ บริเวณฟันหน้าได้นั่นเองค่ะ
ภาวะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้จากการใช้ฟลูออไรด์ที่ไม่เหมาะสม
-
ฟันตกกระ ภาวะฟลูออไรด์สะสมในฟันมากเกินไป
สำหรับเด็กเล็กที่ฟันกําลังพัฒนาตั้งแต่อยู่ใต้เหงือกจนกระทั่งงอกขึ้นมา หากในรับฟลูออไรด์มากเกินไปเป็นเวลานาน จะพบว่าฟันมีสีขาวขุ่นเป็นจุด ๆ ไม่สมํ่าเสมอ หากมีความรุนแรงมาก เคลือบฟันจะเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาล ดําหรือเทา ผิวฟันขรุขระ ซึ่งมักจะเป็นผลมาจากการกินฟลูออไรด์เสริม หรือกลืนยาสีฟัน นั่นเองค่ะ
-
ปัญหาฟันผุ โรคชุกชุมในกลุ่มเด็กและวัยรุ่น
โรคปริทันต์ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ รำมะนาด คือ โรคที่อวัยวะรอบตัวฟันเกิดการอักเสบ ได้แก่ เหงือก เอ็นยึดปริทันต์ เคลือบรากฟัน และกระดูกเบ้าฟัน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที จะทำให้สูญเสียฟันไปในที่สุด
โดยที่โรคนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากคราบจุลินทรีย์ หรือหินปูนน้ำลาย เมื่อเราแปรงฟันไปแล้ว 2-3 นาที จะมีเมือกใสของน้ำลายมาเกาะที่ตัวฟัน จากนั้นเชื้อโรคในช่องปากจะมาเกาะทับถมรวมกัน เมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไป คราบจุลินทรีย์เหล่านี้ก็จะใช้น้ำตาลจากอาหารในการสร้างกรดและสารพิษขึ้นมา โดยที่กรดจะไปทำลายเคลือบฟัน ทำให้เกิดปัญหาฟันผุ เหงือกอักเสบ จนกระทั่งเกิดโรคปริทันต์ตามนั่นเองค่ะ
นอกจากนี้ ในกลุ่มคนที่มีภาวะปากแห้ง น้ำลายน้อยผิดปกติ อันเกิดจากผลข้างเคียงของยาบางชนิดและอายุที่มากขึ้น ล้วนแล้วแต่มีผลทำให้เกิดฟันผุได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น การใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ จะช่วยป้องกันฟันผุในระยะแรก แต่หากเกิดการลุกลามจนเกิดเป็นรูผุ ก็สามารถทำการรักษาได้ด้วยวิธีอุดฟันค่ะ
ผลสำรวจโรคปริทันต์ คนวัยไหน พบโรคนี้ได้มากที่สุด
วัย 12 ปี มีภาวะเหงือกอักเสบ 76.9%
วัย 15 ปี มีภาวะเหงือกอักเสบ 78.4% และพบผู้มีร่องลึกปริทันต์เล็กน้อย
วัย 33-44 ปี พบผู้มีร่องลึกปริทันต์ 25.6%
วัย 60-74 ปี พบผู้มีร่องลึกปริทันต์ 32.1%
จากข้อมูลนี้ จะเห็นได้ชัดเลยนะคะว่า เมื่อเราอายุมากขึ้น โอกาสที่จะเป็นโรคนี้ก็มีมากขึ้นเช่นเดียวกัน อาจจะเป็นเพราะเราละเลยการดูแลสุขภาพฟันไปอย่างไม่ตั้งใจ แต่ในขณะเดียวกันก็ส่งผลทำให้เราสูญเสียฟันไปอย่างไม่มีวันหวนคืนเลยล่ะค่ะ
ฟลูออไรด์แต่ละชนิด ป้องกันฟันผุได้แค่ไหน ?
จากข้อมูลที่เปิดเผยโดยทันตแพทย์สมาคมแห่งประเทศไทยฯ ได้เปิดเผยแนวทางการใช้ฟลูออไรด์สำหรับเด็ก ประจำปี 2560 โดยพบว่าฟลูออไรด์ในรูปแบบต่าง ๆ มีงานวิจัยที่บอกถึงประสิทธิภาพการช่วยลดฟันผุได้อีกด้วยค่ะ
- ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ที่ความเข้มข้น 1,000 1,055 1,100 และ 1250 ppm ช่วยลดฟันผุในชุดฟันผสมและฟันแท้เฉลี่ย 23%
- นํ้ายาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ โดยเฉพาะโซเดียมฟลูออไรด์ ความเข้มข้น 0.05% ปราศจากแอลกอฮอล์ หากใช้วันละ 1 ครั้ง จะช่วยป้องกันฟันผุได้ถึง 28%
- นมผสมฟลูออไรด์ เป็นวิธีที่องค์การอนามัยโลกแนะนําให้ใช้เพื่อป้องกันฟันผุในเด็ก และพบว่าช่วยป้องกันฟันผุได้ถึง 31-78% เลยทีเดียวค่ะ
- ฟลูออไรด์เจล เป็นฟลูออไรด์ที่หมอฟันใช้เคลือบหลุมร่องฟัน นิยมใช้กับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 6 ขวบขึ้นไป ให้ความร่วมมือดี และมีแนวโน้มฟันผุสูงอีกด้วยค่ะ พบว่าให้ผลลัพธ์ช่วยป้องกันฟันผุในฟันแท้ได้ถึง 28% และฟันนํ้านม 20%
- ฟลูออไรด์วานิช พบว่าช่วยป้องกันฟันผุในฟันแท้ 46% และฟันนํ้านม 33% เหมาะสำหรับใช้ในเด็กเล็ก ที่ไม่ค่อยให้ความร่วมมือเท่าไหร่นัก
จะเห็นได้ว่า ฟลูออไรด์คือ แร่ธาตุที่ได้ชื่อว่าช่วยป้องกันฟันผุได้อย่างมีประสิทธิภาพรูปแบบหนึ่ง ไม่แพ้การเลือกทานอาหาร ทําความสะอาดฟัน และการพบหมอฟันทุก ๆ 6 เดือนเลยนะคะ เพราะฉะนั้นแล้ว เมื่อเรารู้ถึง ความสำคัญ ประโยชน์ที่ได้จากฟลูออไรด์ และปริมาณการใช้ที่เหมาะสมแล้ว ก็อย่าลืมนำไปปรับใช้ เพื่อสุขภาพฟันที่ดี ไร้ปัญหาฟันกวนใจ และลดการสูญเสียฟันไปก่อนวัยอันควรอีกด้วยนะคะ
อย่างที่เราพอจะรู้กันอยู่แล้วนะคะว่า ฟลูออไรด์ มีคุณสมบัติในการป้องกันฟันผุตามธรรมชาติ โดยปกติแล้วบนผิวฟันของเราจะมีแร่ธาตุอยู่เป็นจํานวนมาก ไม่ว่าจะเป็นแคลเซียมและฟอสฟอรัส แล้วเจ้าฟลูออไรด์นี้เองที่ทําหน้าที่จับยึดบนผิวฟัน ทําให้โครงสร้างฟันแข็งแรง ต้านทานต่อกรดจากแบคทีเรีย ป้องกันฟันผุ และยังช่วยดึงแร่ธาตุต่าง ๆ เข้าสู่ผิวฟันได้อีกด้วย
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่ใคร ๆ หลายคนสงสัยว่า การเคลือบฟลูออไรด์บนผิวฟันนั้น จําเป็นกับทุกคนหรือไม่ เด็นทัลพอยท์ เลยจะขอแบ่งออกเป็น 2 เคสดังนี้ค่ะ
- ผู้ที่มีความเสี่ยงฟันผุสูง แนะนําให้ เคลือบฟลูออไรด์เจล ในผู้ที่มีอายุ 6-18 ปีและผู้ที่มีภาวะนํ้าลายน้อย ซึ่งจะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของทันตแพทย์ด้วยนะคะว่ามีความจําเป็นต้องเคลือบฟลูออไรด์หรือไม่
- ผู้ที่มีความเสี่ยงฟันผุตํ่า กรณีนี้ไม่จําเป็นต้องเคลือบฟลูออไรด์ค่ะ เพียงแต่แนะนําให้ใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ที่มีความเข้มข้น 1,000 ppm (สังเกตได้บนกล่องยาสีฟัน) หรือ ยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์
ที่สําคัญต้องไม่ลืมแปรงฟันด้วยสูตร 2:2:2 ด้วยนะคะ นั่นก็คือ
- แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้าและก่อนนอน
- แปรงฟันนาน 2 นาทีขึ้นไปด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์
- และงดกินอาหารหรือเครื่องดื่ม 2 ชั่วโมงหลังแปรงฟันเสร็จแล้วค่ะ
เคล็ดลับดูแลสุขภาพช่องปาก
- ทำไมต้องใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์?
- ทำไมถึงต้องพาลูกไปเคลือบฟลูออไรด์?
- สงสัยไหม ฟันลูกเป็นแบบนี้ เพราะอะไร ?
- Ef Line จัดฟันเด็กเล็ก ที่ให้มากกว่าแค่เรื่องจัดฟัน
- เช็คเลย! สัญญาณเตือนว่าลูกคุณกำลังติดเชื้อในช่องปาก
ปรึกษาหมอหลิน :
038-416-779
038-416-817
096-305-0765
Line ID : @dppattaya.com
เด็นทัลพอยท์ คลินิกทันตกรรม พัทยา
ค้นหาด้วย Google map นำทางมาถูกแน่นอน
https://goo.gl/MDzxIT (คลิก)
Dental point คลินิก พร้อมให้คำปรึกษาทุกปัญหาเรื่องฟัน